การอบรมค่ายเยาวชน “คนดีศรีแผ่นดิน” ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ในส่วนของ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน สพป.มหาสารคาม เขต 3 อบรมเป็นวันที่ 2

5 การอบรมค่ายเยาวชน “คนดีศรีแผ่นดิน” ป.ป.ช.สพฐ.น้อย  ในส่วนของ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน  สพป.มหาสารคาม เขต 3  อบรมเป็นวันที่ 2

วันที่ 19 กันยายน 2559 เวลา 09.00 น. ที่หอประชุมพระมิ่งเมือง  นายปัญญา สาระกุมาร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3  ปฏิบัติราชการแทน  นายสมพงษ์ โรจน์ภัทรพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมค่ายเยาวชน “คนดีศรีแผ่นดิน” ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ตามโครงการคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา  ซึ่งในส่วนของ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน อบรมเป็นวันที่ 2

6 7

โดยกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สพป.มหาสารคาม เขต 3 ได้จัดอบรมขับเคลื่อนโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสุจริต 20 %  มีผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน และคณะวิทยากร คณะกรรมการ รวมทั้งสิ้น 135 คน เข้าอบรม  เพื่อช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียน และเยาวชนมีคุณธรรม จริยธรรมตามลักษณะของโรงเรียนสุจริต อันประกอบด้วยทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี และเป็นคนเก่งของสังคม

dsc_1139_resize 10

นายปัญญา สาระกุมาร ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ การสอนคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย 1. ต้องเป็นผู้ที่รู้จักตนเองและจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสม  2. การรู้จักสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับคนอื่นและสิ่งแวดล้อม  3. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และคิดสร้างสรรค์   4. ประกอบสัมมาอาชีพสุจริตและรับผิดชอบ  และ 5. การปฏิบัติตามคุณธรรมศาสนาที่ตนนับถือ  เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับชุมชน  รู้จักบทบาทหน้าที่ ซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

11-%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2 16342

ทางด้านนายธนบดีพิพัฒน์  ดำนิล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.นครสวรรค์ เขต 3 วิทยากร เปิดเผยว่า  กิจกรรมครั้งนี้จัดให้มีขึ้นสองวัน โดยวันแรกเป็นการจัดอบรมให้กับนักเรียนเครือข่ายโรงเรียนสุจริต 20 %  ให้รู้บทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชนซึ่งจะได้ทำงานร่วมกัน โดยมีกิจกรรมแบ่งออกเป็นฐานในลักษณะของโรงเรียนสุจริต 5 ฐาน ประกอบด้วย ฐานกระบวนการคิด ฐานวินัย ฐานซื่อสัตย์สุจริต ฐานอยู่อย่างพอเพียง และฐานจิตสาธารณะ  การระดมความคิด แก้ปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน และการหาข้อตกลงร่วมกัน

12 13

ส่วนวันที่สองเป็นการจัดอบรมให้กับ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน  โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา และผู้แทนชุมชนเข้าอบรม  ด้วยการบรรยาย สร้างความตระหนัก  สร้างกิจกรรม  แนวทางการขับเคลื่อนโครงการ การวางแผน การเขียนแผน เพื่อจะกลับไปพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน

%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3-1 16264

นายธนบดีพิพัฒน์ ดำนิล เปิดเผยอีกว่า กิจกรรมครั้งนี้ได้เห็นเด็กมีส่วนร่วม กล้าคิด กล้าแสดงออก ตนรู้สึกชอบมากมีความสุข ได้สัมผัสได้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับเด็ก ๆ แล้วมีความสุข ประทับใจ  ส่วนเทคนิคการสร้างแรงบันดาลใจนั้นเปิดเผยว่า ได้เชิญชวน โน้มน้าว จูงใจให้เด็กเกิดอารมณ์ร่วมกับเรา มีตัวอย่างการพูด ตัวอย่างคลิปให้เด็กดู ขยายความ ให้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เขาเกิดอารมณ์ร่วมกับคุณลักษณะเหล่านั้น  แล้วย้ำบทบาทให้นักเรียนว่าต้องกลับไปทำอย่างไร

198048 8

ในขณะที่นางเพ็ญศรี กองเกิด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเลิงใต้ ซึ่งเป็นตัวแทนผู้เข้ารับการอบรมมีความเห็นว่า กิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่ดี การจะขับเคลื่อนโครงการให้เกิดมรรคผลจะต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน  เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กขับเคลื่อนสู่ตัวเด็ก  หน้าที่ต้องมาก่อนครอบครัว  และที่สำคัญขาดไม่ได้คือจิตสาธารณะต้องมาก่อน

ประเทศชาติจะมั่นคง  ประชาชนจะมั่งคั่ง  คนไทยทั้งชาติต้องร่วมใจกัน ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ

ณัฐพล คุ้มวงศ์ นักวิชาการศึกษา  : ข้อมูลข่าว
ธนบดีพิพัฒน์ ดำนิล ศึกษานิเทศก์ สพป.นครสวรรค์ เขต 3 : ให้สัมภาษณ์
ทิพยฉัตร  ฉัตรทอง นักประชาสัมพันธ์ : ภาพ/ข่าว

เว็บไซต์ สพฐ. http://www1.obec.go.th:8081/news/74504