สพป.มหาสารคาม เขต ๓ ขานรับนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ผ่านสื่อโทรทัศน์ ETV

สพป.มหาสารคาม เขต ๓ รับนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” และการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จาก สพฐ.โดยการประชุมวีดีโอคอนเฟอเรนส์

สพป.มหาสารคาม เขต ๓ รับนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” และการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จาก สพฐ.โดยการประชุมวีดีโอคอนเฟอเรนส์

นายปัญญา สาระกุมาร (ขวา) รอง ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 3 รักษาราชการแทน ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 3 และ ดร.สายทอง ไตรยะวิภาค รอง ผอ.สพป. นำคณะศึกษานิเทศก์ประชุมรับนโยบายฯ จากวีดีโอคอนเฟอเรนส์

นายปัญญา สาระกุมาร (ขวา) รอง ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 3 รักษาราชการแทน ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 3 และ ดร.สายทอง ไตรยะวิภาค รอง ผอ.สพป. นำคณะศึกษานิเทศก์ประชุมรับนโยบายฯ 

          เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ที่ห้องประชุมโกสัมพี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๓ นายปัญญา สาระกุมาร รอง ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต ๓ ปฏิบัติราชการแทน ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต ๓ พร้อมด้วย ดร.สายทอง ไตรยะวิภาค รอง ผอ.สพป. นำคณะศึกษานิเทศก์เข้ารับการประชุมการถ่ายทอดสดนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”กับการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา ๒๕๕๘  ด้วยระบบวีดีโอคอนเฟอเรนส์ ซึ่งถ่ายทอดออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV)  มีพลเอกดาวน์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการ กพฐ. และ รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.เป็นวิทยากรหลัก

ในส่วนของโรงเรียนในสังกัด จำนวน ๑๔๗ โรงเรียน ได้มีการจัดสถานที่ และรับชมการถ่ายทอดฯ การออกอากาศ เช่นเดียวกัน โดยผู้รับชมประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาศึกษา ครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
– นโยบายด้านการศึกษา
พลเอกดาวน์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงแนวคิดเริ่มจาก Super Board การศึกษา ที่มีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เป็นประธาน ผลการประเมินที่ผ่านมาเทียบเคียงกับต่างประเทศ พบว่าเนื้อหา เวลา และผลสัมฤทธิ์ไม่สอดคล้องกัน จึงมีนโยบายปรับหลักสูตร ลดเวลาเรียน และเพิ่มเวลารู้ โดยใช้กิจกรรมเสริมสมอง ประกอบด้วย Head, Hard, Hand, Health เป็นหลักในการพัฒนาแบบองค์รวม
สิ่งที่ครูต้องทำเวลานี้ คือ
– ปรับเนื้อหาให้เหมาะสม
– ปรับความเข้าใจในการวัดและประเมินให้สอดคล้องกับเนื้อหา
– อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจหลักคิดและแนวทางในการปฏิบัติ
– นักเรียน ครู และผู้ปกครองประสานสัมพันธ์กันอย่างเข้าใจและ “มีความสุข”
สำหรับสิ่งที่ต้องการจากเด็ก คืออยากให้จำ  เข้าใจ ใช้งาน  วิเคราะห์เป็น และประเมินตัวเองเป็น  จึงขอให้ครูจัดประสบการณ์ตามความเหมาะสม โดย สพฐ. จะเริ่มทดลองใช้ตำราใหม่ประมาณเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๙ นี้

นอกจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ อยากให้เกิด ๓ ประการ ดังนี้
– ครู : อยากให้ลดภาระครูด้านการประเมินต่าง ๆ และให้เวลากับศิษย์
– นักเรียน : อยากให้มีทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้ โดยการปฏิบัติ
– ผู้ปกครอง : อยากให้เข้าใจแนวคิด วิธีปฏิบัติตามวิธีการ Head, Hard, Hand และ Health

ในส่วนของการทดสอบ O-NET อยากให้เด็กมีความสุข มีสมาธิ และคลายความกังวล โดยอยากให้ครูชี้แจงทำความเข้าใจเด็กและผู้ปกครอง  ในการออกข้อสอบจะออกตามมาตรฐานตัวชี้วัดในเนื้อหาหลักสูตรที่เด็กได้เรียนมา และสิ่งสำคัญที่อยากจะฝาก การใช้สื่อมูลนิธิไกลกังวลเพื่อตอบโจทย์การศึกษา ความไม่พร้อมด้านจำนวนครู และความขาดแคลนครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ขอให้ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วย

ทิพยฉัตร  ฉัตรทอง นักประชาสัมพันธ์ : ถ่ายภาพ/เขียนข่าว
ปัญญา สาระกุมาร : รอง ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต ๓ : เครดิตข้อมูล
3 4 5

โรงเรียนบ้านกุดรัง

โรงเรียนบ้านกุดรัง

โรงเรียนบ้านผำ

โรงเรียนบ้านผำ

โรงเรียนบ้านกระบาก และโรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี

โรงเรียนบ้านกระบาก และโรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี

215389 กระบาก โคกกลางน้ำจั้น_resize

โรงเรียนบ้านเหล่าหนองบัวดอนโพธิ์

โรงเรียนบ้านเหล่าหนองบัวดอนโพธิ์

โรงเรียนบ้านแห่บริหารวิทย์

โรงเรียนบ้านแห่บริหารวิทย์

16514_resize 25301_resize 162546_resize เลือก S__27852831_resize S__27852832_resize